เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี

Quick Nav - Menu

KKOPenZoo
the park buffe 499
runsmitivaj
Thaioil
PacificPark
U-BAR
pub 10
Somsri Kitchen
งานกองข้าว2559
แห่พญายม2559
PM-Silalert
ChonburiTV
P'Chun Coffee
JoJo Perfume
สายด่วนพญาไทย

User Menu

Gameboy

Login Form






ลืมรหัสผ่าน?

Started 14 Feb, 2009

 This site has seen 177,545,541 hits to-date.   This site has seen 177,545,541 hits to-date.   This site has seen 177,545,541 hits to-date.   This site has seen 177,545,541 hits to-date.   This site has seen 177,545,541 hits to-date.   This site has seen 177,545,541 hits to-date.   This site has seen 177,545,541 hits to-date.   This site has seen 177,545,541 hits to-date.   This site has seen 177,545,541 hits to-date.
powered_by.png, 1 kB

Home
ดึงชุมชนศึกษาแหล่งผลิตเหล็กขั้นต้น พิมพ์

ดึงชุมชนศึกษาแหล่งผลิตเหล็กขั้นต้นลดการนำเข้าปีละกว่า 4 แสนล้านบาท

Image

       สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เริ่มเดินสายให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เรื่องโครงการเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูง หลังผลสำรวจก่อนหน้านี้พบชาวบ้านไม่รู้จักโครงการ  ส่วนความคืบหน้าอยู่ในขั้นการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งมีพื้นที่ในภาคตะวันออกด้วย โดยจะเลือกเฉพาะพื้นที่รกร้างหรือพื้นที่เสื่อมโทรม พร้อมกับเปิดทางให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนตั้งแต่ต้น โดยดึงนักวิชาการหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมศึกษาความเป็นไปได้ พร้อมทั้งร่วมทำกิจกรรม ตามรอยแม่ ดูแลทะเลไทย: เหล็กไทยร่วมใจ.รักษ์สิ่งแวดล้อม”  ร่วมกันอีกด้วย

      (11 ก.ย.52)  นาย ราเมศวร์  อุปถัมพันธุ์ รองผู้อำนวยการ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้แทน นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยในการเปิดงานสัมมนา “เหล็กวัตถุดิบคู่ชีวิต” ณ โรงแรมสยาม เบย์ ชอร์ พัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี ว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนให้ทราบถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล็กที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และตระหนักถึงความสำคัญของการผลักดันให้ประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศปีละหลายแสนล้านบาท “จากผลการสำรวจความเห็นของสวนดุสิตโพล์เมื่อประมาณเดือนเศษ พบว่า ประชา ชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูง และต้องการให้ภาครัฐเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขอบเรื่องนี้มากขึ้น สถาบันเหล็กจึงจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป และนักเรียน นักศึกษา จากทุกภาคทั่วประเทศ ประมาณ 150 คน” 

     สำหรับความคืบหน้าในการศึกษาพื้นที่ตั้งโครงการ สถาบันเหล็กได้ดึงนักวิชาการจากหลายสาขาอาชีพ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมศึกษาถึงผลดีผลเสียที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้พื้นที่ที่จะทำการศึกษานั้น จะเน้นพื้นที่เกษตรกรรมที่รกร้างและมีดินเสื่อม สภาพ เนื่องจากถูกทำลายไปหมด อาทิ พื้นที่บ่อกุ้งเก่า ซึ่งคาดว่าจะเริ่มศึกษาได้ในเดือนตุลาคมนี้ และจะเสร็จสิ้นช่วงต้นปี 2554 จากนั้นจะนำเสนอข้อมูลให้รัฐบาลกำหนดนโยบายต่อไป

     นาย ราเมศวร์  ฯ  ยังกล่าวต่ออีกว่า พื้นที่ในภาคตะวันออกจะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่จะทำการศึกษาด้วย โดยอยู่ในจังหวัดระยอง และจันทบุรี ซึ่งในลำดับต่อไป สถาบันฯ ก็จะประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชน เพื่อเชิญให้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นคิดทำโครงการ เพราะประชาชนจะได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดแผนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม แผนการสร้างและพัฒนาเมือง นอกจากนี้แล้ว ยังได้จัดให้มี กิจกรรม ตามรอยแม่ ดูแลทะเลไทย: เหล็กไทยร่วมใจ...รักษ์สิ่งแวดล้อม” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่จะสร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคม เพื่อการอนุรักษ์และการฟื้นฟูชายฝั่งทะเลไทยอย่างยั่งยืน เพื่อทดแทนสภาพระบบนิเวศใต้ทะเลที่ถูกทำลาย โดยการใช้วัสดุเหล็กมาสร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล และแหล่งอนุบาลปะการังเทียม เนื่องจากวัสดุเหล็กจะถูกกัดกร่อนและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางทะเล ณ หาดสังวาลย์ เกาะล้านเมืองพัทยา อีกด้วย

      ด้าน ดร.ฉัตรชัย สมศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายโลหวิทยาและศูนย์วิจัยและพัฒนา บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส จำกัด (มหาชน) ในฐานะวิทยากรผู้ให้ความรู้แก่ประชาชน ได้เล่าถึงความเกี่ยวข้องของผลิต ภัณฑ์เหล็กกับชีวิตประจำวัน ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการดำรงชีวิตแทบตลอดเวลา รวมทั้งได้เล่าถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล็กกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตเหล็กทั้งในและต่างประเทศว่า  อุตสาหกรรมเหล็ก เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ องจากเป็นอุตสาหกรรมเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ อาหารกระป๋อง (บรรจุภัณฑ์) เครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมก่อสร้างแล้ว

     ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทย มีเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางและขั้นปลาย ซึ่งเป็นการนำผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นต้นมาผ่านการแปรรูป เช่น รีดร้อน รีดเย็น ชุบเคลือบผิว ออกมาเป็นเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน ก่อนที่จะนำเหล็กขั้นปลายไปเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ แต่ประเทศไทย ไม่มีอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นหรือการถลุงเหล็ก ซึ่งการผลิตเหล็กขั้นต้น เป็นการนำแร่เหล็กมาถลุง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการผลิตเหล็ก ทำให้ไทยต้องนำเข้าเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงจากต่างประ เทศ เป็นมูลค่ากว่าปีละกว่า 400,000 ล้านบาท

     และยังได้กล่าวอีกว่า และหากประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กต้นน้ำได้เองจะช่วยพัฒนาภาคอุตสาห กรรมของไทยทั้งระบบให้มีความ ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น และสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น การต่อเรือ รถบัส และรถไฟ อุตสาหกรรมอากาศยาน รวมไปถึงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนช่วยในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     สำหรับบริษัทผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกถึง 4 ราย ที่ตอบรับแสดงความสนใจเข้ามาลงทุน โครง การผลิตเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัทอาร์เซลอร์-มิตตัล ของเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบอร์ก ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก บริษัท นิปปอนสตีลของญี่ปุ่น ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก บริษัท JFE ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก บริษัท เซี่ยงไฮ้เป่าสตีล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 6 ของโลกเป็นต้น

นิราช  ทิพย์ศรี ภาพ / ข่าว   2009-09-12

Image Image

Image

Image

Image

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >

Date

พฤหัสบดี, 02 พฤษภาคม 2024
Phyathai
The park Hotel
thailand base 2563
Robinson Sriracha
SRC-monopoly
SS-monopoly
Bangpra-monopoly
LCB-monopoly
ม.บูรพา
PChonburi
แปซิฟิคโฮม-แปซิฟิคซิตี้โฮม
sizzler
kartsพ่นกันสนิมรถยนต์

Who's Online

The park Hotel
เมนูอร่อย 399 แปซิฟิคพาร์ค โฮเทล
(C) 2024 Buraphanews.com
www.buraphanews.com All rights reserved.