ชาวบ้านมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดระยอง ร้อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่และสิ่งแวดล้อม เพื่อขอความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นรูปธรรม 
วันนี้ ( 6 มี.ค. 2552) ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (อบจ.) ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ พร้อมคณะได้เดินทางมาพูดคุยและรับฟังปัญหา จากประชาชนบริเวณรอบโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและโรงงานใกล้เคียง โดยมีประชาชนจากหลายพื้นที่มาให้การต้อนรับและพูดคุยถึงพร้อมเสนอปัญหาต่างๆให้รัฐมนตรีเข้ามาช่วยเหลืออย่างจริงจัง สำหรับข้อเสนอแนะให้รัฐมนตรีช่วยเหลือในครั้งนี้ โดยนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ได้เสนอ ประกอบด้วย 1.ไม่ต้องการให้นายกรัฐมนตรี ยื่นอุทรณ์ กรณี ที่ศาลปกครองระยองมีคำพิพากษาให้พื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพราะหากมีการยื่นอุทธรณ์ ก็จะทำให้การดำเนินการกรณีดังกล่าวต้องยืดเยื้อออกไปอีก 1-2 ปี ทั้งๆที่ควรจะจบภายใน 1-2 เดือนเท่านั้น 2.ขอให้เร่งผลักดัน เครื่องตรวจวัดน้ำและอากาศ มีประจำในพื้นที่จังหวัดระยอง เพราะปัจจุบัน เครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำและอากาศ ตั้งประเทศมีเพียง 2 เครื่องเท่านั้น หากเกิดปัญหาขึ้นไม่สามารถตรวจสอบได้ทันท่วงทีที่ 3. เรื่องภาษี เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่ เพราะที่ผ่านมา การดำเนินการต่างๆของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง ส่วนใหญ่ดำเนินการผ่านบริษัทแม่จากกรุงเทพฯ ดังนั้นภาษีต่างๆจะตกอยู่ที่กรุงเทพฯทั้งสิ้น ซึ่งหากมาเสียภาษีหรือดำเนินการในพื้นที่จังหวัดระยอง ภาษีต่างๆที่จะได้รับก็สามารถนำมาพัฒนาจังหวัดระยองได้ นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่า 4.ควรมีศูนย์ข้อมูลหรือศูนย์ตรวจสุขภาพในพื้นที่จังหวัดระยอง หากเกิดปัญหาต่อประชาชน ก็สามารถพิสูจน์และตรวจสอบได้ทันการ 5. เร่งกำหนดพื้นที่กันชนหรือพื้นที่สีเขียว) ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับบ้านเรือนประชาชน เพราะขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมกับบ้านเรือนจะมีพื้นที่ติดกันแล้ว ดังนั้นควรจะต้องมีพื้นที่กันชนไว้ดังกล่าว นอกจากนั้น ควรมีสถานการศึกษาที่เปิดสอนเรื่องด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เรียนรู้และทราบปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ทันที เมื่อมีการพิจารณาจากศาลปกครองระยอง ก็มีกระแสการต่อต้านและคัดค้านจากกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และหน่วยงานรัฐบางหน่วยงาน ว่าการประกาศฯดังกล่าว มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและต่อชื่อเสียงด้านการลงทุน ซึ่งเรื่องนี้ขอฝากให้รัฐมนตรี กำชับหน่วยงานที่ดูแล ไม่ให้พูดนอกเหนือกรอบที่กำหนด เพราะอาจจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล นอกจากนั้นนายวิรัตน์ มีทรัพย์ทอง ประธานชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมตำบลแม่น้ำคู้ ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงงานถลุงเหล็กและขอให้พิจารณาประกาศเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อำเภอปลวกแดงและบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่แหล่งน้ำ เช่น มีอ่างเก็บน้ำดอกกราย ,อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ซึ่งหากมีการดำเนินการก่อสร้างโรงงานดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำและประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกอย่างแน่นอน ดังนั้นพิจาณาโครงการดังกล่าวโดยด่วน หลังมีการพูดคุยระหว่างชาวบ้านและดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ แล้ว ซึ่งทางรัฐมนตรีรับปากจะดำเนินการช่วยเหลือและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามที่ชาวบ้านร้องเรียน โดยเฉพาะชาวบ้านหวั่นจะมีการยื่นอุทธรณ์ คัดค้านประกาศของศาลปกครอง ซึ่งเรื่องนี้ตนเห็นว่าควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย 
 |