นครแหลมฉบัง MOU ร่วมจิสด้า เกษตรศาสตร์ ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ Smart City
นครแหลมฉบัง จัดพิธีลงนาม MOU ร่วมกับสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ Smart City ที่ห้องประชุมเมืองใหม่ 2 ชั้น 4 สำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นางจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง ได้เป็นประธานเปิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ระหว่างเทศบาลนครแหลมฉบัง กับสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยมีนางกานดาศรี ลิมปาคม รองผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริฉัตร เต็งสุวรรณ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา เข้าร่วมในพิธี ซึ่งมีคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี สำหรับลักษณะของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มี 7 ด้าน ประกอบด้วย 1.สิงแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) หมายความว่า เมืองที่คำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การบริหารจัดการของเสีย และการเฝ้าระวังภัยพิบัติ ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 2. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) หมายความว่า เมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมืองเกษตร เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น อัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมโยงของระบบขนส่งและการสัญจร 3. ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) หมายความว่า เมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบจราจร ที่หลากหลาย เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) หมายความว่า เมืองที่สามารถบริหารจัดการด้านพลังงานได้มีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่เพื่อสร้าง ทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก 5. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) หมายความว่า เมืองที่มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลือมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนเปิดกว้างสำหรับ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วม 6. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smnart Living) หมายความว่า เมืองที่มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก โดยคำนึงถึงหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีความสุขในการดารงชีวิต และ 7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) หมายความว่า เมืองที่พัฒนาระบบริการภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการของภาครัฐ โดยมุ่งเน้น ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมบริการ 







|