กระทรวงพาณิชย์ จัดกิจกรรม “โลจิสติกส์การค้าสัญจร เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจไทย” โดยเริ่มสัญจรครั้งแรก เพื่อเยี่ยม และหารือปัญหาอุปสรรค พร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย พร้อมทั้งจะรีบดำเนินการให้ท่าเรือแหลมฉบังร่วมกับท่าเรือกลันตัง เป็นท่าเรือขนส่งสินค้าฮารานของมุสลิม 
ที่ห้องประชุม อาคารสโมสร ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และประธานคณะกรรมการโลจิสติกส์การค้า กระทรวงพาณิชย์ พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ พบผู้ประกอบการจากเอกชน เพื่อปรึกษาหารือปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ เพื่อร่วมกันช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของภาคธุรกิจไทย ในเรื่อง “โลจิสติกส์การค้าสัญจร เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจไทย” นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช. กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในการเดินทางมาพบผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในครั้งนี้ เพื่อที่จะได้รับทราบปัญหาของผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ทำให้การส่งออกสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นจำนวนการส่งออกรถยนต์จากที่เคยส่งออก 1 ล้านคัน แต่ลดลงเกือบครึ่งเลยทีเดียว เป็นผลจากสภาวะวิกฤตของตลาดโลก และปริมาณการส่งออกตู้คอนเทนเนอร์จากที่เคยส่ง 5 ล้าน BTU 7 เดือนที่ผ่านมามีผลกระทบส่งออกได้เพียง 2.5 ล้าน BTU และมีปริมาณตู้สินค้าขาเข้าเพียง 16-17% เท่านั้นเอง ดังนั้นต้องช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน โดยการให้ช่วยค่าภาระ และค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ทั้งในของท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมทั้งให้มีการพิจารณาในเรื่องของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ดอกเบี้ย นอกจากนี้ ประเทศคู่แข่งอย่างประเทศเวียดนาม ได้มีการเปิดท่าเรือน้ำลึกไคลแมกซ์ เมื่อ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา ในเรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอให้ทางสภาพัฒน์แห่งชาติ นำเรื่องนี้ไปวิเคราะห์ หาแนวทางการแก้ไข การขนส่งสินค้าแปซิฟิค ทางเวียดนามจะมีเรือรับขนส่งสินค้ามาเข้า และยังมีค่าแรงที่ถูกกว่า และจะมีการแข่งขันในเรื่องของการส่งออก ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมาก ที่จะมีการนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีให้รับทราบต่อไป ในเรื่องของการขนส่งทางน้ำทั้งขาเข้าและขาออก เรื่องท่าเรือกันตังของประเทศมาเลเซีย ที่เป็นท่าขนถ่ายสินค้าฮาราน ของมุสลิม ที่มีภาวการณ์แข่งขันที่สูงมาก โดยทางประเทศมาเลเซีย ได้มีการเสนอให้มีการขนถ่ายสินค้าฮารานแบบครบวงจร ที่ได้มีการเสนอในที่ประชุมอาเซียนที่จังหวัดภูเก็ต ในส่วนนี้ทางประเทศไทยจะต้องมีการตั้งรับและรุก ในการที่จะรักษาการขนถ่ายสินค้าของท่าเรือแหลมฉบัง ในการรวมกันกับทางมาเลเซีย และขยายกว้างออกไปให้ประเทศมาเลเซียมารวมดำเนินการกับเรา ภายใต้กรอบ ICTT และภายใต้กรอบอาเซียน พร้อมทั้งกำหนดให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นฮารานพอร์ตอีกด้วย และเป็นเรื่องที่จะต้องหยิบยกเป็นวาระสำคัญในการพิจารณา เพื่อที่ต้องการรักษาป้องกันเป็นท่าเรือส่งออกสินค้าฮาราน ในการเป็นคู่ค้ามากกว่าคู่แข่งในการขนส่งสินค้าฮาราน ส่วนกรณีที่มีการเอ็กซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์เป็นจำนวนมาก และมีการลงทุนที่สูงมาก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกา กับทางศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ที่ต้องมีความเข้มงวดในการตรวจสอบอย่างมากเพราะเป็นการป้องกันในเรื่องของสถานการณ์ความมั่นคงประเทศสหรัฐฯ แต่ในช่วงนี้ในเรื่องของความไม่ปลอดภัยในความมั่นคง โดยรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ ได้ลดน้อยลง จึงไปโอกาสที่ดีที่เราจะเปิดการเจรจาในเรื่องของตู้คอนเทนเนอร์ ที่จะมีการส่งสินค้าออกได้ถูกลง เพราะมีการเอก็ซเรย์มากเกินจำเป็นอย่างมาก 

 |